line
เมนู

‘สุขภาพยังฟิต คิดว่าไม่เสี่ยง ‘โรคงูสวัด’?


เนื่องด้วยสัปดาห์โรคงูสวัด (Shingles Awareness Week) ชวน Gen ยัง Active มาตระหนักรู้ ‘โรคงูสวัด’ ภัยเงียบอันตรายที่ซ่อนอยู่ในปมประสาท เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันจะลดลง ยิ่งเสี่ยงโรคงูสวัดมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น 9 ใน 10 ของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคงูสวัด เนื่องจากเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส1,2

โรคงูสวัด เป็นการติดเชื้อไวรัส
ชนิดเดียวกับที่ก่อโรคอีสุกอีใส2

โดยการติดเชื้อครั้งแรก จะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส หากหายแล้วเชื้อจะยังซ่อน อยู่ที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด หรือมีภาวะภูมิถดถอยตามวัย เชื้อจะถูกกระตุ้น และก่อให้เกิดโรคงูสวัดอีกครั้ง2

เช็กให้ชัวร์..ใครบ้างที่ ‘เสี่ยง’3,4

  1. ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
  2. ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส
  3. ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลุ่มคนที่ต้องกินยากดภูมิ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี และ โรคมะเร็ง
  4. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  5. ผู้ที่มีความเครียดสูง

โรคงูสวัด ‘อันตราย’ กว่าที่คิด5-8

โรคนี้อันตรายกว่าที่คิดหากเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยอาการแทรกซ้อนที่ต้องระวัง มีดังนี้

  1. มีอาการปวดเส้นประสาท นานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากผื่นหาย
  2. การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง มีโอกาสทำให้เกิดเป็นแผลเป็น
  3. งูสวัดติดเชื้อที่ตา เสี่ยงตาบอด
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคหลอดเลือดหัวใจ

3 วิธีดูแล หากเป็น ‘โรคงูสวัด’9

  1. ให้ยาต้านไวรัสเร็วจะช่วยลดระยะเวลาของโรค และลดอาการเจ็บปวด
  2. ดูแลผิวหนังในบริเวณที่ผื่นขึ้นให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการเกา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
  3. เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในกรณีที่มีอาการรุนแรง

ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคงูสวัดแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 6.2%10

ชวน ‘ป้องกัน’ ก่อนจะเสี่ยง7,9

หากชาว Gen ยัง Active ไม่อยากพลาดโอกาสไปใช้ชีวิตให้สุขเสรี แนะนำให้ป้องกันไว้ ก่อนจะเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด ด้วยวิธีป้องกัน ดังนี้

  1. เครียดให้น้อย พักผ่อนให้เยอะ
  2. รักษาสุขอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  4. ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค

เรียบเรียงโดย จีเอสเค

เอกสารอ้างอิง
1. Nair PA, Patel BC. Herpes Zoster. StatPearls Publishing; 2023.
2. Kilgore PE;Journal of medical virology;2003;70;S111-8,
3. Vaccine Trial Centre, Mahidol University, Pramongkutklao Hospital, & Smithkline Beecham Biologicals (1997). Seroprevalence of Varicella-Zoster Virus Antibody in Thailand
4. American Academy of Dermatology. “SHINGLES: WHO GETS AND CAUSES” Page Last accessed Nov 22, 2022. From :https://www.aad.org/public/diseases/a-z/shingles-causes#:~:text=Age%20and%20weak%20immune%20system,before%2040%20years%20of%20age
5. Dworkin RH et al. J Pain 2008;9:S37‒34
6. Hayderi L et al. Am J Clin Dermatol 2018;19:893–897
7. Harpaz R, Ortega-Sanchez IR, Seward JF, Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP) Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Prevention of herpes zoster: recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR Recomm Rep. 2008;57(RR-5):1-30; quiz CE2-4.
8. Schmidt SAJ; British Journal of Dermatology;2021;185;130-138 9. Parameswaran GI, et al. Increased Stroke Risk Following Herpes Zoster Infection and Protection With Zoster Vaccine, Clinical Infectious Diseases, 2023;76(3): e1335–40. Available from:http://dx.doi.org/10.1093/cid/ciac549
10. Kawai K;BMJ Open;2014;4:1-20

NP-TH-HZU-WCNT-240001

GSK ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของท่านและเราให้คำมั่นสัญญาว่าเราจะจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยความระมัดระวัง
หากท่านต้องการทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บ และวิธีการที่เราเก็บข้อมูลเหล่านั้น ท่านสามารถศึกษาได้จาก ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว