line
MENU
lifestyle

เช็กลิสต์ อาหารที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรเลี่ยง!

ลดเค็ม เติมสุขภาพดี ผู้สูงอายุรับมือความดันโลหิตสูง ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
Share this page
line
line
line

สำหรับวัย Gen ยัง Active 50+ ต้องใส่ใจเกี่ยวกับ โรคประจำตัว กันมากขึ้น เพราะเมื่ออายุเพิ่ม ก็เริ่มมีโรคต่าง ๆ เข้ามาทักทาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โรคความดันโลหิตสูง ภัยใกล้ตัวที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ขนานนาม ‘โรคความดันโลหิตสูง’ ว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ หรือ ‘Silence Killer’¹

ในเมื่อสมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็น ‘วันความดันโลหิตสูงโลก’ (World Hypertension Day)¹𝄒² ก็นับเป็นเรื่องราวดี ๆ ที่จะชวนให้ Gen ยัง Active 50+ เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการเริ่มดูแลตัวเองง่าย ๆ ด้วย อาหาร

ทำความเข้าใจค่าความดันโลหิต³

ก่อนไปเช็กลิสต์กันว่า อาหารแบบไหนที่ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน ขอชวนมาทำความเข้าใจเรื่องค่าความดันโลหิตกันก่อน

ค่าความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะหัวใจบีบเต็มที่
ค่าความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะหัวใจคลายเต็มที่

โดยความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท)³ ซึ่งค่าความดันโลหิตแบ่งได้ ดังนี้

ตารางแสดงค่าความดันโลหิต³

กินอย่างไรให้ลดเสี่ยง

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือเหล่า Gen ยัง Active 50+ ควรเลี่ยง คือ อาหารที่มีโซเดียมสูง นั่นเอง องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดมาตรฐานไว้ว่า เราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม / วัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชาและเมื่อเฉลี่ยแล้ว ไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร⁴

หากกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่ควร ไตจะทำงานหนัก จนทำให้เสี่ยงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต⁴

ประเภทอาหารโซเดียมสูงควรเลี่ยง!

เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว กะปิ ซอสหอยนางรม น้ำปลาร้า ซุปก้อน ผงชูรส เครื่องปรุงรส⁴ โดยแนะนำให้ลดการปรุง และเลือกเครื่องปรุงรสแบบโซเดียมต่ำ เพื่อลดเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

อาหารแปรรูป ทั้งอาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม ขนมกรุบกรอบ ไปจนถึงขนมใส่กะทิ ที่อาจเป็นของโปรดของผู้สูงอายุหลายท่าน³𝄒⁴

ขนมปัง เบเกอรี และขนมที่มีการเติมผงฟู เช่น เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง หรือแป้งสำเร็จรูปสำหรับทำขนม³

เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำผลไม้ มักมีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไป ส่วนน้ำผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักจะมีการเติมเกลือปรุงรสชาติ และโซเดียมแฝง จากวัตถุเจือปนอาหาร โดยเฉพาะสารกันบูดนั่นเอง³

อ่านฉลากช่วยคุมโซเดียม

อีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ นอกเหนือจากอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง ผู้สูงอายุลองฝึกอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อสังเกตปริมาณโซเดียม รวมถึงโซเดียมแฝงที่ปรากฏบนภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อทุกครั้ง แนะนำว่าไม่ควรบริโภคเกิน 100 มิลลิกรัม หรือ 5% ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค⁵ หากพบว่าสินค้าใดมีปริมาณโซเดียมสูง แนะนำให้ลดปริมาณการกินลง เรียกว่าเป็นทริคง่าย ๆ ในการควบคุมปริมาณโซเดียม และดูแลสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

เรียบเรียงโดย จีเอสเค

เอกสารอ้างอิง
1. World Hypertension Day. (n.d.). Who.int. Retrieved May 7, 2024, from https://www.who.int/southeastasia/news/speeches/detail/world-hypertension-day-2023
2. Cdc.gov. (2022, May 16). World hypertension day - may 17. Retrieved May 3, 2024, from https://www.cdc.gov/globalhealth/healthprotection/resources/awareness/world-hypertension-day.html
3. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2566, กันยายน, 20). คุณเป็นความดันโลหิตสูงหรือเปล่า. (2567, เมษายน, 18) https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hypertension
4. กรมอนามัย. (2566, กันยายน, 22). อาหารโซเดียมสูง ควรเลี่ยง ⁉กินมากเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคไต. (2567, เมษายน, 18) https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/info574_sodium_1/
5. bangkokbiznews. (2021, December 15). วิธี "อ่านฉลากโภชนาการ” และ “สัญลักษณ์บนฉลาก” ให้เข้าใจ. (2567, พฤษภาคม, 3) https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/977490

Cookies Content
Cookies Content 2 Notice Policy