line
เมนู
ไลฟ์สไตล์

6 ทริคส่งเสริมสุขภาพดี อัปร่างกายให้ฟิตรับปีใหม่

เริ่มต้นวางแผนดี ผู้สูงอายุสุขภาพดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
แชร์บทความนี้
line
line
line

เชื่อเหลือเกินว่า หนึ่งในความตั้งใจช่วงปีใหม่ของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คือการมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์และแข็งแรงกว่าเดิม ชวนชาว Gen ยัง Active เข้าใจ 6 ทริค อัปสุขภาพให้ Young ฟิตรับปีใหม่ อย่าลืมจดไว้ไปทำตามกันนะ

1. สารอาหารเพียงพอ ได้สุขภาพดีไม่ต้องรอ

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมถอย เช่น ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ภาวะกลืนลำบาก การรับรู้กลิ่น และรสชาติของอาหารลดลง ไปจนถึงภาวะเบื่ออาหาร ที่ทำให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้น้อยลง จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นปีใหม่นี้ หากอยากมีสุขภาพดี การได้รับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย คือเรื่องสำคัญ ควรทานให้พอดี และมีสารอาหารครบถ้วน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี

2. ขยับนิด ร่างกายฟิต เคลื่อนไหวดี

การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ จะส่งเสริมให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้นไปด้วย เพราะการเคลื่อนไหวที่ดี มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการทำกิจวัตรประจำวันอย่างคล่องตัว เช่น การลุก การนั่ง การเดิน การอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ การตักข้าวกินเอง การทำงานบ้าน หรือแม้กระทั่งการทำสวน ทำไร่ ที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย และเพิ่มความสุขทางใจ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเสริมสร้างและพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้ ด้วยการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เพียงพอ และเหมาะสม

3. สุขภาพช่องปากดี ยิ้มกี่ทีก็สดใส

สุขภาพช่องปากก็เป็นอีกสิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เช่น ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันบางส่วนหรือทั้งปากมักรู้สึกอายและขาดความมั่นใจ คนที่ปวดฟันมักหงุดหงิด โมโหง่าย นอกจากนี้เชื้อโรคหรือการติดเชื้อต่าง ๆ จากในช่องปาก ยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด หัวใจ ตาสุขภาพช่องปากก็เป็นอีกสิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เช่น ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันบางส่วนหรือทั้งปากมักรู้สึกอายและขาดความมั่นใจ คนที่ปวดฟันมักหงุดหงิด โมโหง่าย นอกจากนี้เชื้อโรคหรือการติดเชื้อต่าง ๆ จากในช่องปาก ยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด หัวใจ ตา¹

โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักจะสำลักได้ง่าย หากสำลักเศษอาหารหรือเป็นแผล เชื้อโรคจากในช่องปากก็อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้ปอดอักเสบได้1ซึ่งผู้สูงอายุควรมีฟันที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่² รวมถึงไม่มีแผลหรือการอักเสบเรื้อรังในช่องปาก เพื่อให้บดเคี้ยวอาหารได้ดี และส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง

4. สมองดี แฮปปี้ทุกวัน

เมื่ออายุมากขึ้น แน่นอนว่า ‘ภาวะสมองเสื่อม’ (Dementia) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่ผู้สูงอายุมักเจอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านการคิดและสติปัญญา ส่งผลให้เกิดอาการความจำเสื่อม มีความผิดปกติด้านความคิด การตัดสินใจ การเคลื่อนไหว ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์³

ดังนั้นคงจะดีไม่น้อย ถ้ารู้วิธีป้องกันก่อนเกิดภาวะสมองเสื่อม ด้วยสูตร 5 ควร 3 ท่า

5 ควรทำ เพื่อลดความเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
  1. ควรเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสมองและหลอดเลือด
  2. ควรรับประทานอาหารบำรุงสมอง เช่น ข้าวกล้อง ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้
  3. ควรเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
  4. ควรออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
  5. ควรเข้าสังคม ไปพบปะเพื่อนฝูงบ่อย ๆ
3 ท่า บริหารสมอง
  1. ท่าโป้งก้อย : มือขวาชูนิ้วโป้ง มือซ้ายชูนิ้วก้อย เมื่อทำได้ สลับเปลี่ยนเป็นมือขวาชูนิ้วก้อย และกำมือซ้ายชูนิ้วโป้ง
  2. ท่าจีบแอล : มือขวาทำมือเป็นรูปจีบ มือซ้ายทำมือเป็นรูปตัวแอล เมื่อทำได้สลับเปลี่ยนให้ทำมือขวาเป็นรูปตัวแอล และมือซ้ายทำเป็นรูปจีบ
  3. ท่าจับจมูกจับหู : มือขวาจับปลายจมูก มือซ้ายจับหูขวา เมื่อทำได้ให้สลับเปลี่ยนมือขวาจับหูซ้าย มือซ้ายจับปลายจมูก

5. ความสุขใจ ช่วยให้กายสุขตาม

ความสุขของผู้สูงอายุ หมายถึง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมีหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่ง 5 องค์ประกอบง่าย ๆ ที่จะช่วยเพิ่มสุขให้ผู้สูงอายุ มีดังนี้

  1. สร้างบรรยากาศในบ้านให้ผ่อนคลาย เช่น จัดมุมพักผ่อน และการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน
  2. หมั่นพาผู้สูงอายุไปทำบุญ ช่วยให้จิตใจสงบ
  3. สร้างความรู้สึกมีคุณค่า เช่น คอยปรึกษาเรื่องการดูแลบ้าน การเลี้ยงลูก หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้สูงอายุมีความรู้
  4. หางานอดิเรกให้ผู้สูงอายุทำอย่างต่อเนื่อง เช่น เลี้ยงสัตว์ จัดสวน ฟังเพลง อ่านหนังสือ
  5. ส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ลานออกกำลังกาย กระตุ้นผู้สูงอายุออกมาพบปะพูดคุยกัน

6. แวดล้อมปลอดภัย ชุบชูกายใจ

การจัดสภาพแวดล้อมในบ้าน และบริเวณรอบบ้านที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในบั้นปลายได้ อย่างมีความสุขและปลอดภัยจากความอันตราย โดยวิธีจัดสภาพแวดล้อมมีหลากหลาย มีดังนี้

  1. มีแสงสว่างที่เพียงพอโดยเฉพาะบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน
  2. พื้นบ้านควรใช้แบบพื้นเรียบและไม่ขัดมัน
  3. ติดตั้งราวจับที่บันได และไม่วางของกีดขวาง
  4. มีราวจับในห้องน้ำ ระวังไม่ให้พื้นลื่น และควรใช้ชักโครก
  5. เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก
  6. จัดให้มีมุมพักผ่อน เช่น มุมสวนหย่อม
  7. เลือกใช้สีที่สดใสในการตกแต่งบ้าน ส่งเสริมการมองเห็น

ผู้สูงอายุทำตาม 6 ทริคนี้ เพื่อสุขภาพกายฟิต สุขภาพใจสดใสรับปีใหม่

ข้อมูลโดย : กรมอนามัย

เอกสารอ้างอิง :
1. กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอาย. (หน้า 29). https://eh.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=201574&id=78571&reload=
2. กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอาย. (หน้า 30). https://eh.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=201574&id=78571&reload=
3. กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอาย. (หน้า 34). https://eh.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=201574&id=78571&reload=
กรมอนามัย. (2566, มีนาคม, 29). แผ่นพับชะลอชรา ชีวา ยืนยาว (Wellness Plan). https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderly-manual/download/?did=213320&id=105137&reload=

NP-TH-NA-SMP-230047

GSK ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของท่านและเราให้คำมั่นสัญญาว่าเราจะจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยความระมัดระวัง
หากท่านต้องการทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บ และวิธีการที่เราเก็บข้อมูลเหล่านั้น ท่านสามารถศึกษาได้จาก ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว